วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ใครคิดอย่างฉันบ้าง?



   ได้ อ่านเรื่องหนังสือเรียนของน้องนักเรียน ก็ได้แต่ทบทวนตัวเองว่า โครงการแจกหนังสือเรียนเนี่ย กระทบอะไรบ้างเนอะ  ที่จริงแล้ว  การมีหนังสือเรียนมันก็ดีนะ  แต่มันสวนทางกับโลกปัจจุบันอย่างไรไม่รู้ซิ  ลองดูนะ
                    -  เราส่งเสริมคอมพิวเตอร์  การใช้อินเตอรเนต  เราบอกว่า  ผู้เรียนต้องเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  รักการอ่าน การค้นคว้า
  แล้วเราก็บังคับให้ทุกคนใช้หนังสือเรียนเล่มเดียวกัน
                    -  เราบอกว่าครูทุกคนต้องพัฒนาสื่อ  ผลักตัวเองออกจากกรอบความจำเจ  สอนสู่สากล ดูแนวการสอนจาก Teacher TV    แต่   เรากลับให้ครูเลือกหนังสือให้ลงกับกรอบเงินที่ให้มา.....ใช้ได้มากน้อยเพียง ใดไม่รู้ ...หรือใช้ไม่ใช้ไม่รู้   แต่ต้องซื้อตามงบที่ให้มา
                     -   เราบอกว่าทุกคนต้องช่วยกันปลูกต้มไม้  ป้องกันโลกร้อน  ต้องประหยัดกระดาษ ใช้แหล่งเรียนรู้จากอินเตอร์เนตมากขึ้น   แต่ เราผลิตกระดาษไม่ทันกับโครงการหนังสือยืมเรียน.........ยิ่งผลิตหนังสือ จากกระดาษมากเท่าไร  ต้นไม้ก็ถูกทำลายมากเท่านั้น
                    -    เราบอกว่าครูต้องพัฒนาตนเองทางวิชาการ  ต้องมีผลงานสื่อ  ที่ใช้สอนแล้วยกระดับคุณภาพผุ้เรียน มีคุณภาพ รับไปเลย  คศ.๓    แต่  ตอนนี้คุณต้องใช้หนังสือเรียนตามที่กำหนดนะ
                  เมืองไทยเราแจกแบบปูพรมมานานแล้ว  ใครต้องการ  ไม่ต้องการ  เราแจกแหลก  แจกจนไร้คุณค่า    เราลองกลับมาทบทวนดูว่า   เราจะจัดระเบียบการเรียนรู้อย่างไร   ครูให้นักเรียนค้นทางเน็ต  ความรู้ก้าวไกล   หลากหลาย   หนังสือเรียนกลายเป็นวัตถุโปราณที่วางไว้ ไร้การเปิดใช้.....ควรนำมาวิเคราะห์และทบทวนว่า หนังสือยืมเรียนน่าจะมีในระดับใดบ้าง หนังสือยืมเรียนน่าจะเป็นหนังสือค้นคว้า หายาก   ควรให้งบประมาณในการสนับสนุนส่งเสริมมากกว่ามาซื้อหนังสือเรียน  ยิ่งบางวิชาเขียนตำราลงเล่มไม่ทันการเปลี่ยนแปลง   ........ควรดูกันอีกคร้ัง  ปัญหาก็จะเหมือนเดิม.....เปิดเทอมแล้วยังไม่ได้หนังสือเรียน.....ทบทวนอีก คร้ังว่าระดับใดควรมีหนังสือยืมเรียน........
                     ท่านเลขาธิการสพฐ.  ประชุมคณะผู้บริหารในการเสวนาการใช้ ICT  ในการจัดการเรียนการสอน      ดูสวนทางกับงบประมาณหนังสือยืมเรียนเสียจริง........ลองพิจารณาดูนะคะ..... เราใช้หนังสือยืมเรียนคุ้มค่าจริงหรือ.....หรือควรมีบางวิชา......






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บอกเล่าเก้าสิบ